ไก่ชน
ไก่ชน มีประวัติเล่าขานกันมาตั้งแต่สมัยพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช ( 356 - 323 ปี ก่อนคริสตกาล ) ซึ่งเป็นจอมจักรพรรดิของกรีก ได้กรีธาทัพแผ่อิทธิพลขยายอาณาจักรเข้ามายังประเทศอินเดีย มีเรื่องเล่ากันว่าแม่ทัพนายกองได้เห็น การชนไก่ ที่อินเดีย จึงได้นำ ไก่ชน ไปขยายพันธุ์ ณ เมือง อเล็กซานเดรีย ซึ่งอยู่ริมฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน หลังจากนั้นได้นำไก่ที่ขยายพันธุ์ได้ไปฝึกให้มีชั้นเชิงการต่อสู้แบบโรมัน เพื่อนำไปต่อสู้ในสนามโคลีเซียม เมื่ออังกฤษปกครองอินเดียได้นำ ไก่ชน จากอินเดียเข้าไปเผยแพร่ในอังกฤษ โดยยอมรับว่า กีฬาไก่ชน เป็นเกมกีฬาที่ควรได้รับความนิยมจากบุคคลชั้นสูงเช่นเดียวกับการแข่งม้าและฟันดาบ นอกจากนี้ กีฬาชนไก่ ยังได้เผยแพร่เข้าไปในประเทศสหรัฐอเมริกาอีกด้วย
ไก่ชนในเมืองไทย
ในอดีต พันธุ์ ไก่ชน ไทยเป็น มรดกของไทย มาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย กรุงศรีอยุธยา จนกระทั่งถึงกรุงรัตนโกสินทร์ มีหลายสายพันธุ์ด้วยกัน แต่ที่สำคัญที่สุดคือพันธุ์ ประดู่หางดำ และ เหลืองหางขาว ในสมัยกรุงสุโขทัย ไก่ชนประดู่หางดำพันธุ์แสมดำ ได้ชื่อว่า ไก่พ่อขุน เนื่องจากว่าเป็นไก่ที่พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงโปรด สมัยกรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงนำ ไก่เหลืองหางขาว จากบ้านกร่าง เมืองพิษณุโลก ไปชนชนะไก่ของพระมหาอุปราชาที่กรุงหงสาวดี ไก่พันธุ์นี้เป็นที่นิยมเลี้ยงกัน ตามซุ้มที่เลี้ยง ไก่ชน มักจะมี ไก่ชนเหลืองหางขาว เลี้ยงไว้เพื่อเป็นไก่นำโชค และนิยมเรียกชื่อว่า ไก่เจ้าเลี้ยง
เนื่องจากประเทศไทยอยู่ใกล้กับอินเดีย จึงทำให้ไทยได้รับขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรม และความเชื่อทางศาสนา ตลอดจนศิลปวิทยาการต่างๆมาจากอินเดียหลายอย่าง อาจจะเป็นไปได้ที่ไทยได้นำ ไก่ชน จากอินเดียมาเพาะเลี้ยง และคงจะมีการนำ ไก่ชน เข้ามาก่อนที่อังกฤษจะนำ ไก่ชน ไปจากอินเดีย ทั้งนี้เนื่องจากว่า สมเด็จพระนเรศวรฯ ได้ทรงใช้ ไก่ชน ดำเนินกลยุทธ์ทางการเมืองมาก่อนที่อินเดียจะเสียเอกราชให้แก่อังกฤษเสียอีก แต่อย่างไรก็ตามอาจจะเป็นไปได้ที่ ไก่ชน ของไทยมีมานานก่อนแล้ว แต่ ไก่ชนพันธุ์อินเดีย คงจะเข้ามาในประเทศไทยพร้อมๆ กับศาสนาพราหมณ์และวัฒนธรรมอื่นๆ
การ ต่อไก่ ชนไก่ และการ ฝึกไก่ มีปรากฏอยู่ในวรรณคดีไทยมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา และสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ก็มีการละเล่น เพลงปรบไก่ และ การชนไก่ ในฤดูที่ว่างเว้นจากการทำเกษตรกรรมเรื่อยมา จนกระทั่งมาถึง ยุคสมัยเชื่อผู้นำชาติพ้นภัย ( จอมพล ป. พิบูลสงคราม ) ที่ส่งเสริมการทำสวนครัวและเลี้ยงสัตว์ ได้นำ ไก่พันธุ์เล็กฮอร์น พันธุ์ออสตราลอฟ และพันธุ์โรดไอส์แลนด์เรด มาทำการผสมพันธุ์กับ ไก่ชน ที่ชาวบ้านเลี้ยงกันอยู่จนกระทั่งกลายเป็นไก่พันธุ์ทาง ทั้งยังประกาศให้เลิกเลี้ยง ไก่ชน อีกด้วย ไก่ชนเลือดแท้ในยุคสมัยนั้นจึงมีเหลือแอบเลี้ยงกันบางแห่งเท่านั้น ทำให้วงการไก่ชนของไทยซบเซาลงไป ครั้นถึงรัฐบาลนายควง อภัยวงศ์ เป็นนายกรัฐมนตรี จึงได้มีการฟื้นฟู กีฬาไก่ชน ขึ้นมาอีกจนกระทั่งทุกวันนี้ ปัจจุบันการเลี้ยง ไก่ชน แยกออกได้หลายประเภท ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ต่างๆตามความนิยม เช่น เลี้ยงเพื่อการค้า โดยการขายเป็นพ่อพันธุ์ในราคาที่สูง หรือเพื่อการนำไปแข่งขัน และเลี้ยงเป็นอุตสาหกรรมในฟาร์มขนาดใหญ่ เพื่อทำธุรกิจส่งออก เป็นต้น
วิธีการผสมพันธุ์ไก่
วิธีการผสมพันธุ์ไก่
ไก่ที่จะใช้ผสมพันธุ์ ต้องคัดเลือกจากไก่ตัวผู้ และตัวเมียที่มีความสมบูรณ์ ปราศจากโรคขี้ขาว เป็นหน่อ มะเร็ง คอคอก หวัด เพราะถ้าพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ เป็นโรคแล้วอาจจะมาติดถึงลูกได้ เพื่อให้ได้ผลในการผสมพันธุ์ ควรใช้ตัวผู้ 1 ตัว ต่อ ตัวเมีย 5 ตัวและไม่ควรขังให้อยู่ในเล้าที่จำกัด ควรปล่อยให้อยู่ในที่กว้าง ๆ อาหารต้องสมบูรณ์อาหารที่ใช้คือ ข้าวเปลือก ปลาสด (ควรต้มเสียก่อน) หญ้าอ่อน ถ้าไม่มีหญ้าควรให้ผักสดกิน ถ้าทำเช่นนี้ได้จะได้ลูกไก่ที่สมบูรณ์ (ข้อสำคัญไก่ที่จะทำพ่อพันธุ์ และแม่พันธุ์ ควรนำไปให้ปศุสัตว์ตรวจโรคเสียก่อน) การเตรียมรังสำหรับฟักไข่
ไก่ที่จะใช้ผสมพันธุ์ ต้องคัดเลือกจากไก่ตัวผู้ และตัวเมียที่มีความสมบูรณ์ ปราศจากโรคขี้ขาว เป็นหน่อ มะเร็ง คอคอก หวัด เพราะถ้าพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ เป็นโรคแล้วอาจจะมาติดถึงลูกได้ เพื่อให้ได้ผลในการผสมพันธุ์ ควรใช้ตัวผู้ 1 ตัว ต่อ ตัวเมีย 5 ตัวและไม่ควรขังให้อยู่ในเล้าที่จำกัด ควรปล่อยให้อยู่ในที่กว้าง ๆ อาหารต้องสมบูรณ์อาหารที่ใช้คือ ข้าวเปลือก ปลาสด (ควรต้มเสียก่อน) หญ้าอ่อน ถ้าไม่มีหญ้าควรให้ผักสดกิน ถ้าทำเช่นนี้ได้จะได้ลูกไก่ที่สมบูรณ์ (ข้อสำคัญไก่ที่จะทำพ่อพันธุ์ และแม่พันธุ์ ควรนำไปให้ปศุสัตว์ตรวจโรคเสียก่อน) การเตรียมรังสำหรับฟักไข่
ตามที่กล่าวมาแล้วนั้น กีฬาชนไก่เป็นกีฬาโบราณ ดังนั้นเวลาผสมพันธุ์ หรือทำรังให้ไก่ฟักย่อมมีพิธีรีตองมากเป็นธรรมดา ถ้าทำลำบากมักจะให้ประโยชน์คุ้มค่าเสมอ ท่านต้องหาของที่โบราณเขาถือมาใส่รังไก่ให้ครบ ท่านก็จะได้ไก่ที่ฟักออกมาเก่ง ๆ ทุกตัว
ของที่ใช้ประกอบการฟักไข่มีดังนี้
- กระบุง การใช้กระบุงทำเป็นที่รองสำหรับฟักไข่ ก็เพราะว่ากระบุงเป็นภาชนะสำหรับ ใส่ของซื้อ ของขายได้ทีละมาก ๆ จึงเป็นมงคลด้วย
- มูลฝอยสำหรับรองรังไข่ ควรใช้ของดังนี้
- ไม้ฟ้าผ่า (ทำให้ไก่ตีแรง จนให้คู่ต่อสู้ชักดิ้น)
- คราบงูเห่า (ทำให้แข้งมีพิษ)
- ทองคำ (ทำให้สีสวย)
- ไม้คานหักคาบ่า (ทำให้มีลำหักลำโค่น)
- หญ้าแพรก (เวลาชนทำให้ฟื้นง่ายเหมือนหญ้าแพรก)
- การคัดไข่ การเก็บไข่ไว้ฟักควรเลือกไข่ที่สมบูรณ์ไม่บูดเบี้ยว และน้ำหนักมาก ไม่น้อย กว่า 45 กรัม หรือใกล้เคียง ถ้าท่านทำได้ตามนี้ท่านจะได้ไก่เก่งประมาณ 80% การทำรังให้ไก่ฟักไม่ควรให้แดดส่อง หรือฝนสาดได้เพราะจะทำให้ไข่เสีย การฟักแต่ละครั้ง ไม่ควรฟักเกิน 10 หรือ 11 ใบ ถ้าฟักเกินแล้วจะทำให้ไข่เสียมาก ฟักประมาณ วิธีเลือกไข่ขึ้นฟัก
ตามที่กล่าวมาแล้วนั้น กีฬาชนไก่เป็นกีฬาโบราณ ดังนั้นเวลาผสมพันธุ์ หรือทำรังให้ไก่ฟักย่อมมีพิธีรีตองมากเป็นธรรมดา ถ้าทำลำบากมักจะให้ประโยชน์คุ้มค่าเสมอ ท่านต้องหาของที่โบราณเขาถือมาใส่รังไก่ให้ครบ ท่านก็จะได้ไก่ที่ฟักออกมาเก่ง ๆ ทุกตัว
ของที่ใช้ประกอบการฟักไข่มีดังนี้
- กระบุง การใช้กระบุงทำเป็นที่รองสำหรับฟักไข่ ก็เพราะว่ากระบุงเป็นภาชนะสำหรับ ใส่ของซื้อ ของขายได้ทีละมาก ๆ จึงเป็นมงคลด้วย
- มูลฝอยสำหรับรองรังไข่ ควรใช้ของดังนี้
- ไม้ฟ้าผ่า (ทำให้ไก่ตีแรง จนให้คู่ต่อสู้ชักดิ้น)
- คราบงูเห่า (ทำให้แข้งมีพิษ)
- ทองคำ (ทำให้สีสวย)
- ไม้คานหักคาบ่า (ทำให้มีลำหักลำโค่น)
- หญ้าแพรก (เวลาชนทำให้ฟื้นง่ายเหมือนหญ้าแพรก)
- การคัดไข่ การเก็บไข่ไว้ฟักควรเลือกไข่ที่สมบูรณ์ไม่บูดเบี้ยว และน้ำหนักมาก ไม่น้อย กว่า 45 กรัม หรือใกล้เคียง ถ้าท่านทำได้ตามนี้ท่านจะได้ไก่เก่งประมาณ 80% การทำรังให้ไก่ฟักไม่ควรให้แดดส่อง หรือฝนสาดได้เพราะจะทำให้ไข่เสีย การฟักแต่ละครั้ง ไม่ควรฟักเกิน 10 หรือ 11 ใบ ถ้าฟักเกินแล้วจะทำให้ไข่เสียมาก ฟักประมาณ วิธีเลือกไข่ขึ้นฟัก
การเลือกไข่ขึ้นฟัก ใช้สมุดปกอ่อนม้วนเป็นรูปกระบอกแล้ว นำไข่ที่ฟักไปประมาณ 15 วัน ใส่ทางด้านหนึ่ง อีกด้านหนึ่งใช้ส่องให้ตรงกับพระอาทิตย์ ถ้าไข่มีเชื้อจะมองเห็นเป็นสีดำสนิท แต่ถ้าไข่ไม่มีเชื้อจะมองเห็นในไข่เป็นแสงสว่าง ไข่ไม่มีเชื้อควรคัดออกได้เลย ถ้าเก็บไว้มาก นอกจากจะทำให้แน่นกันแล้ว จะทำให้ไข่ดีเสียไปมากอีกด้วย
การเลือกไข่ขึ้นฟัก ใช้สมุดปกอ่อนม้วนเป็นรูปกระบอกแล้ว นำไข่ที่ฟักไปประมาณ 15 วัน ใส่ทางด้านหนึ่ง อีกด้านหนึ่งใช้ส่องให้ตรงกับพระอาทิตย์ ถ้าไข่มีเชื้อจะมองเห็นเป็นสีดำสนิท แต่ถ้าไข่ไม่มีเชื้อจะมองเห็นในไข่เป็นแสงสว่าง ไข่ไม่มีเชื้อควรคัดออกได้เลย ถ้าเก็บไว้มาก นอกจากจะทำให้แน่นกันแล้ว จะทำให้ไข่ดีเสียไปมากอีกด้วย
วิธีเลี้ยงลูกไก่
ตามปกติลูกไก่อ่อนเป็นสัตว์ที่เลี้ยงยากมากเพราะจะมีโรคหลายชนิดแล้วยังจะมีสัตว์อื่นรบกวนอีกมากเช่น เหยี่ยว สุนัข งู แมว กา และสัตว์อื่น ๆ อีกหลายชนิด ดังนั้นท่านต้องระวังให้มาก หลังจากลูกไก่ออกแล้วให้นำลูกไก่มาขังไว้ในที่ ๆ สะอาด อย่าให้ลมโกรกมาก เวลานอนควรให้นอนในมุ้งอย่าให้ยุงกัดได้ เพราะจะทำให้เกิดโรคฝีดาษได้ อาหารสำหรับลูกไก่ ในระยะ 10 วันแรก ควรใช้ปลายข้าวกล้องอย่างละเอียด ผสมอาหารไก่อ่อนซึ่งมีขายตามร้านอาหารไก่ คลุกกับน้ำพอเปียกให้กิน ส่วนน้ำใช้ไวตามินผสมให้กินหลังจาก 10 วันไปแล้วใช้ข้าวกล้องเม็ดโตผสมอาหารไก่และน้ำเช่นเดิมให้กินพออิ่มแล้ว ใช้ปลาทะเลหรือปลาน้ำจืดต้มให้สุกปั้นเป็นลูกกลอนเล็ก ๆ ให้กิน หรือผสมกับอาหารไก่ให้กินหลังอาหารแล้ว พออายุประมาณ 1 เดือน เริ่มให้กินข้าวเปลือกเม็ดเล็กได้แล้ว หลังจากกินข้าวเปลือกอิ่มแล้ว ควรให้กินปลาตัวละประมาณเท่าหัวแม่มือทุกวัน ลูกไก่ที่ท่านเลี้ยงจะโตเร็วกว่าปกติ โรคสำหรับไก่ชนเราส่วนมากจะมีโรคร้ายแรงอยู่หลายชนิดด้วยกัน คือ โรคหลอดลมอักเสบ โรคหวัด โรคบิด ไก่ที่เป็นโรคชนิดนี้ส่วนมากกระเพาะอาหารไม่ย่อย หงอยซึมอยู่ตลอดเวลา ควรใช้ยาซัลฟาควินน็อกซาลิน ผสมน้ำตามส่วนให้กิน หรือใช้หยอดก็ได้ติดต่อกัน 3 วัน แล้วเว้น 1 วันจนกว่าจะหาย การเลี้ยงลูกไก่ หลังจากออกจากไข่แล้วประมาณ 10 วัน ควรให้อยู่กับแม่ก่อน สถานที่เลี้ยงไม่ควรให้แฉะ ควรเป็นที่ร่มมีแดดรำไรและที่สำคัญที่สุดต้องมีหญ้า เพราะหญ้าจะเพิ่มวิตามินซีให้กับไก่
ตามปกติลูกไก่อ่อนเป็นสัตว์ที่เลี้ยงยากมากเพราะจะมีโรคหลายชนิดแล้วยังจะมีสัตว์อื่นรบกวนอีกมากเช่น เหยี่ยว สุนัข งู แมว กา และสัตว์อื่น ๆ อีกหลายชนิด ดังนั้นท่านต้องระวังให้มาก หลังจากลูกไก่ออกแล้วให้นำลูกไก่มาขังไว้ในที่ ๆ สะอาด อย่าให้ลมโกรกมาก เวลานอนควรให้นอนในมุ้งอย่าให้ยุงกัดได้ เพราะจะทำให้เกิดโรคฝีดาษได้ อาหารสำหรับลูกไก่ ในระยะ 10 วันแรก ควรใช้ปลายข้าวกล้องอย่างละเอียด ผสมอาหารไก่อ่อนซึ่งมีขายตามร้านอาหารไก่ คลุกกับน้ำพอเปียกให้กิน ส่วนน้ำใช้ไวตามินผสมให้กินหลังจาก 10 วันไปแล้วใช้ข้าวกล้องเม็ดโตผสมอาหารไก่และน้ำเช่นเดิมให้กินพออิ่มแล้ว ใช้ปลาทะเลหรือปลาน้ำจืดต้มให้สุกปั้นเป็นลูกกลอนเล็ก ๆ ให้กิน หรือผสมกับอาหารไก่ให้กินหลังอาหารแล้ว พออายุประมาณ 1 เดือน เริ่มให้กินข้าวเปลือกเม็ดเล็กได้แล้ว หลังจากกินข้าวเปลือกอิ่มแล้ว ควรให้กินปลาตัวละประมาณเท่าหัวแม่มือทุกวัน ลูกไก่ที่ท่านเลี้ยงจะโตเร็วกว่าปกติ โรคสำหรับไก่ชนเราส่วนมากจะมีโรคร้ายแรงอยู่หลายชนิดด้วยกัน คือ โรคหลอดลมอักเสบ โรคหวัด โรคบิด ไก่ที่เป็นโรคชนิดนี้ส่วนมากกระเพาะอาหารไม่ย่อย หงอยซึมอยู่ตลอดเวลา ควรใช้ยาซัลฟาควินน็อกซาลิน ผสมน้ำตามส่วนให้กิน หรือใช้หยอดก็ได้ติดต่อกัน 3 วัน แล้วเว้น 1 วันจนกว่าจะหาย การเลี้ยงลูกไก่ หลังจากออกจากไข่แล้วประมาณ 10 วัน ควรให้อยู่กับแม่ก่อน สถานที่เลี้ยงไม่ควรให้แฉะ ควรเป็นที่ร่มมีแดดรำไรและที่สำคัญที่สุดต้องมีหญ้า เพราะหญ้าจะเพิ่มวิตามินซีให้กับไก่
อาหารไก่พื้นบ้าน
ปกติแล้วการเลี้ยงไก่พื้นบ้านมักจะปล่อยให้ไก่หาอาหารกินเองตามมีตามเกิด หรือตามธรรมชาติ โดยที่ผู้เลี้ยงอาจมีการให้อาหารเพิ่มเติมบ้างในช่วงตอนเช้า หรือตอนเย็นอาหารที่ให้ก็เป็นพวกข้าวเปลือก ปลายข้าว หรือข้าวโพด เป็นต้น จากสภาพการเลี้ยงดูแบบนี้ทำให้ความสมบูรณ์ของไก่ผันแปรไปตามสภาพดินฟ้าอากาศ คือ ในช่วงฤดูฝน ไก่จะมีอาหารค่อนข้างอุดมสมบูรณ์ เนื่องจากได้รับทั้งเมล็ดวัชพืชและหนอนแมลงในปริมาณมาก ซึ่งอาหารทั้งสองชนิดนี้เป็นแหล่งของไวตามินและโปรตีนที่สำคัญ ตามธรรมชาติ ทำให้ไก่ในฤดูกาลนี้มีการเจริญเติบโตและความแข็งแรงมากกว่าไก่ในฤดูอื่น ๆ ส่วนในฤดูเก็บเกี่ยว และนวดข้าว ไก่ก็มีโอกาสที่จะได้รับเศษอาหารที่ตกหล่นมาก ทำให้ไก่มีสภาพร่างกายอ้วนท้วนสมบูณ์พอสมควร ส่วนในฤดูแล้งมักจะประสพปัญหาไก่ขาดแคลนอาหารตามธรรมชาติ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาเรื่องน้ำซึ่งมักจะขาดอยู่เสมอ จำเป็นต้องเตรียมไว้ให้ไก่ด้วย หลักในการให้อาหารไก่พื้นบ้านมีดังต่อไปนี้
- ควรซื้อหัวอาหารเพื่อเอามาผสมกับอาหารที่ผู้เลี้ยงมีอยู่เช่น ผสมกับปลายข้าว หรือรำเป็นต้น อาหารผสมนี้ใช้เลี้ยงไก่โดยเฉพาะอย่างยิ่งไก่เล็ก จะทำให้ไก่ที่เลี้ยงโตเร็วและแข็งแรง
- การใช้เศษอาหารมาเลี้ยงไก่ควรคำนึงถึงความสะอาดและสิ่งแปลกปลอมที่เป็นพิษต่อไก่ด้วย
- ถ้าเป็นไปได้ควรเสริมเปลือกหอยป่นในอาหารที่ให้ไก่กินจะช่วยแก้ปัญหาเรื่องเปลือกไข่บางและปัญหาการจิกกินไข่ของแม่ไก่
- ควรนำหญ้าขนหรือพืชตระกูลถั่วบางชนิดเช่น ถั่วฮามาต้า ใบกระถิน หรือเศษใบพืชต่าง ๆ เช่น ใบปอ ใบมัน เป็นต้น นำมาสับให้ไก่กินจะทำให้ไก่ได้รับไวตามินและโปรตีนเพิ่มมากขึ้น
- การใช้แสงไฟล่อแมลงในตอนกลางคืน นำแมลงนั้นมาเป็นอาหารไก่จะทำให้ไก่ได้อาหารโปรตีนอีกทางหนึ่งนอกจากนี้ยังเป็นการช่วยทำลายแมลงศัตรูพืชอีกด้วย
- ควรมีภาชนะสำหรับใส่อาหารและน้ำโดยเฉพาะ โดยทำจากวัสดุต่าง ๆ ที่หาได้ เช่นยางรถยนต์ หรือไม้ไผ่ ภาชนะสำหรับให้น้ำและอาหารควรวางให้สูงระดับเดียวกับหลังของตัวไก่และใส่อาหารเพียง 1 ใน 3 ก็พอเพื่อให้หกเรี่ยราด สำหรับน้ำนั้นควรใช้น้ำที่สะอาดให้ไก่ดื่มกินตลอดเวลา ส่วนอาหารอาจจะให้เฉพาะตอนเช้า และเย็นเท่านั้น นอกเหนือจากนั้นให้ไก่หาอาหารกินเอง
- สำหรับอาหารลูกไก่ ควรเป็นอาหารที่ละเอียด ย่อยง่าย และให้ทีละน้อย ๆ เพื่อป้องกันไม่ให้ระบบการย่อยอาหารของลูกไก่ต้องทำงานหนักเกินไป
- ในช่วงการให้ไข่และฟักไข่ของแม่ไก่ ควรมีอาหารเสริมเป็นพิเศษสำหรับแม่ไก่ซึ่งจะช่วยให้แม่ไก่แข็งแรงไม่ทรุดโทรมเร็ว และไม่ต้องไปหากินไกล ๆ
- ในระยะการกกลูกไก่ในคอกนั้น จำเป็นต้องซื้ออาหารสูตรผสม (อาหารไก่เล็ก) ที่มีจำหน่ายตามท้องตลาดมาให้ลูกไก่กิน การให้อาหารพวกปลายข้าว
- ข้าวเปลือกหรือรำ เพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือให้รวมกันจะไม่ได้ผล เพราะจะทำให้ลูกไก่แคระแกรน ไม่แข็งแรง และตายในที่สุด
- ดังนั้นจึงควรหาซื้ออาหารสูตรผสมที่มีโปรตีนเมื่อพ้นระยะการกกแล้วใน
- ช่วงเวลากลางวันก็สามารถปล่อยให้ไก่ออกหาอาหารตามธรรมชาติบ้าง ในช่วงก่อนค่ำก็ไล่ไก่เข้าคอกและควรให้อาหารสูตรสำเร็จเสริมให้ไก่ หรือจะให้เศษอาหารที่เหลือ หรือพวกปลายข้าว รำข้าว ก็ได้
- ในกรณีที่เลี้ยงไก่จำนวนมาก สิ่งหนึ่งที่ควรคำนึงถึงคือแหล่งอาหารตามธรรมชาติว่ามีเพียงพอต่อจำนวนไก่หรือไม่ ถ้าไม่เพียงพอก็ควรซื้ออาหารสูตรผสมให้กินเสริมด้วย มิเช่นนั้นจะพบว่าไก่ที่เลี้ยงจะผอม ไม่แข้งแรง และมักแสดงอาหารป่วยจนถึงตายในที่สุด
นอกจากการใช้สูตรอาหารสำเร็จมาใช้เลี้ยงไก่แล้ว ยังมีอาหารอีกรูปแบบหนึ่งที่มีจำหน่ายอยู่ในรูปเข้มข้น หรือเรียกกันว่าหัวอาหาร ซึ่งสามารถซื้อนำมาผสมกับวัตถุดิบในท้องถิ่นได้ เช่น ปลายข้าว ข้าวโพด หรือมันสำปะหลังตากแห้ง เป็นต้น การผสมมักจะคำนึงถึงสูตรอาหารที่จะใช้ว่าจะเลี้ยงในระยะลูกไก่หรือไก่รุ่น เมื่อทราบอายุไก่ที่เลี้ยงแล้วก็นำหัวอาหาร และวัตถุดิบที่มีอยู่มาผสมกันตามสัดส่วนที่คำนวณไว้ดังตัวอย่างเช่น ถ้าหัวอาหารประกอบด้วยโปรตีน 42 เปอร์เซ็นต์ จะนำมาผสมกับปลายข้าวที่ประกอบด้วยโปรตีนประมาณ 8 เปอร์เซ็นต์ เพื่อทำเป็นสูตรอาหารให้ได้โปรตีน 19 เปอร์เซ็นต์
เพื่อใช้เลี้ยงลูกไก่ การผสมแบบนี้สามารถคำนวณได้ง่าย ๆ ดังนี้
ขั้นตอนการคำนวณ คือ
- หาความแตกต่างระหว่างเปอร์เซ็นต์โปรตีนของหัวอาหารกับเปอร์เซ็นต์โปรตีนของสูตรอาหารที่ต้อง การผสมในกรณีนี้คือ 42-19 ได้ผลลัพธ์เท่ากับ 23
- หาความแตกต่างระหว่างเปอร์เซ็นต์โปรตีนของปลายข้าวกับเปอร์เซ็นต์โปรตีนของสูตรอาหารที่ต้องการผสม คือ 19-8 ซึ่งจะได้ผลลัพธ์เท่ากับ 11
- จากข้อ 1 และข้อ 2
สรุปผลได้ดังนี้คือ ถ้าเรานำหัวอาหาร จำนวน 11 ส่วน มาผสมกับปลายข้าว จำนวน 23 ส่วน เราก็สามารถผสมสูตรอาหารไก่ที่ประกอบด้วยโปรตีน ประมาณ 19 เปอร์เซ็นต์ได้
ปกติแล้วการเลี้ยงไก่พื้นบ้านมักจะปล่อยให้ไก่หาอาหารกินเองตามมีตามเกิด หรือตามธรรมชาติ โดยที่ผู้เลี้ยงอาจมีการให้อาหารเพิ่มเติมบ้างในช่วงตอนเช้า หรือตอนเย็นอาหารที่ให้ก็เป็นพวกข้าวเปลือก ปลายข้าว หรือข้าวโพด เป็นต้น จากสภาพการเลี้ยงดูแบบนี้ทำให้ความสมบูรณ์ของไก่ผันแปรไปตามสภาพดินฟ้าอากาศ คือ ในช่วงฤดูฝน ไก่จะมีอาหารค่อนข้างอุดมสมบูรณ์ เนื่องจากได้รับทั้งเมล็ดวัชพืชและหนอนแมลงในปริมาณมาก ซึ่งอาหารทั้งสองชนิดนี้เป็นแหล่งของไวตามินและโปรตีนที่สำคัญ ตามธรรมชาติ ทำให้ไก่ในฤดูกาลนี้มีการเจริญเติบโตและความแข็งแรงมากกว่าไก่ในฤดูอื่น ๆ ส่วนในฤดูเก็บเกี่ยว และนวดข้าว ไก่ก็มีโอกาสที่จะได้รับเศษอาหารที่ตกหล่นมาก ทำให้ไก่มีสภาพร่างกายอ้วนท้วนสมบูณ์พอสมควร ส่วนในฤดูแล้งมักจะประสพปัญหาไก่ขาดแคลนอาหารตามธรรมชาติ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาเรื่องน้ำซึ่งมักจะขาดอยู่เสมอ จำเป็นต้องเตรียมไว้ให้ไก่ด้วย หลักในการให้อาหารไก่พื้นบ้านมีดังต่อไปนี้
- ควรซื้อหัวอาหารเพื่อเอามาผสมกับอาหารที่ผู้เลี้ยงมีอยู่เช่น ผสมกับปลายข้าว หรือรำเป็นต้น อาหารผสมนี้ใช้เลี้ยงไก่โดยเฉพาะอย่างยิ่งไก่เล็ก จะทำให้ไก่ที่เลี้ยงโตเร็วและแข็งแรง
- การใช้เศษอาหารมาเลี้ยงไก่ควรคำนึงถึงความสะอาดและสิ่งแปลกปลอมที่เป็นพิษต่อไก่ด้วย
- ถ้าเป็นไปได้ควรเสริมเปลือกหอยป่นในอาหารที่ให้ไก่กินจะช่วยแก้ปัญหาเรื่องเปลือกไข่บางและปัญหาการจิกกินไข่ของแม่ไก่
- ควรนำหญ้าขนหรือพืชตระกูลถั่วบางชนิดเช่น ถั่วฮามาต้า ใบกระถิน หรือเศษใบพืชต่าง ๆ เช่น ใบปอ ใบมัน เป็นต้น นำมาสับให้ไก่กินจะทำให้ไก่ได้รับไวตามินและโปรตีนเพิ่มมากขึ้น
- การใช้แสงไฟล่อแมลงในตอนกลางคืน นำแมลงนั้นมาเป็นอาหารไก่จะทำให้ไก่ได้อาหารโปรตีนอีกทางหนึ่งนอกจากนี้ยังเป็นการช่วยทำลายแมลงศัตรูพืชอีกด้วย
- ควรมีภาชนะสำหรับใส่อาหารและน้ำโดยเฉพาะ โดยทำจากวัสดุต่าง ๆ ที่หาได้ เช่นยางรถยนต์ หรือไม้ไผ่ ภาชนะสำหรับให้น้ำและอาหารควรวางให้สูงระดับเดียวกับหลังของตัวไก่และใส่อาหารเพียง 1 ใน 3 ก็พอเพื่อให้หกเรี่ยราด สำหรับน้ำนั้นควรใช้น้ำที่สะอาดให้ไก่ดื่มกินตลอดเวลา ส่วนอาหารอาจจะให้เฉพาะตอนเช้า และเย็นเท่านั้น นอกเหนือจากนั้นให้ไก่หาอาหารกินเอง
- สำหรับอาหารลูกไก่ ควรเป็นอาหารที่ละเอียด ย่อยง่าย และให้ทีละน้อย ๆ เพื่อป้องกันไม่ให้ระบบการย่อยอาหารของลูกไก่ต้องทำงานหนักเกินไป
- ในช่วงการให้ไข่และฟักไข่ของแม่ไก่ ควรมีอาหารเสริมเป็นพิเศษสำหรับแม่ไก่ซึ่งจะช่วยให้แม่ไก่แข็งแรงไม่ทรุดโทรมเร็ว และไม่ต้องไปหากินไกล ๆ
- ในระยะการกกลูกไก่ในคอกนั้น จำเป็นต้องซื้ออาหารสูตรผสม (อาหารไก่เล็ก) ที่มีจำหน่ายตามท้องตลาดมาให้ลูกไก่กิน การให้อาหารพวกปลายข้าว
- ข้าวเปลือกหรือรำ เพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือให้รวมกันจะไม่ได้ผล เพราะจะทำให้ลูกไก่แคระแกรน ไม่แข็งแรง และตายในที่สุด
- ดังนั้นจึงควรหาซื้ออาหารสูตรผสมที่มีโปรตีนเมื่อพ้นระยะการกกแล้วใน
- ช่วงเวลากลางวันก็สามารถปล่อยให้ไก่ออกหาอาหารตามธรรมชาติบ้าง ในช่วงก่อนค่ำก็ไล่ไก่เข้าคอกและควรให้อาหารสูตรสำเร็จเสริมให้ไก่ หรือจะให้เศษอาหารที่เหลือ หรือพวกปลายข้าว รำข้าว ก็ได้
- ในกรณีที่เลี้ยงไก่จำนวนมาก สิ่งหนึ่งที่ควรคำนึงถึงคือแหล่งอาหารตามธรรมชาติว่ามีเพียงพอต่อจำนวนไก่หรือไม่ ถ้าไม่เพียงพอก็ควรซื้ออาหารสูตรผสมให้กินเสริมด้วย มิเช่นนั้นจะพบว่าไก่ที่เลี้ยงจะผอม ไม่แข้งแรง และมักแสดงอาหารป่วยจนถึงตายในที่สุด
นอกจากการใช้สูตรอาหารสำเร็จมาใช้เลี้ยงไก่แล้ว ยังมีอาหารอีกรูปแบบหนึ่งที่มีจำหน่ายอยู่ในรูปเข้มข้น หรือเรียกกันว่าหัวอาหาร ซึ่งสามารถซื้อนำมาผสมกับวัตถุดิบในท้องถิ่นได้ เช่น ปลายข้าว ข้าวโพด หรือมันสำปะหลังตากแห้ง เป็นต้น การผสมมักจะคำนึงถึงสูตรอาหารที่จะใช้ว่าจะเลี้ยงในระยะลูกไก่หรือไก่รุ่น เมื่อทราบอายุไก่ที่เลี้ยงแล้วก็นำหัวอาหาร และวัตถุดิบที่มีอยู่มาผสมกันตามสัดส่วนที่คำนวณไว้ดังตัวอย่างเช่น ถ้าหัวอาหารประกอบด้วยโปรตีน 42 เปอร์เซ็นต์ จะนำมาผสมกับปลายข้าวที่ประกอบด้วยโปรตีนประมาณ 8 เปอร์เซ็นต์ เพื่อทำเป็นสูตรอาหารให้ได้โปรตีน 19 เปอร์เซ็นต์
เพื่อใช้เลี้ยงลูกไก่ การผสมแบบนี้สามารถคำนวณได้ง่าย ๆ ดังนี้
ขั้นตอนการคำนวณ คือ
- หาความแตกต่างระหว่างเปอร์เซ็นต์โปรตีนของหัวอาหารกับเปอร์เซ็นต์โปรตีนของสูตรอาหารที่ต้อง การผสมในกรณีนี้คือ 42-19 ได้ผลลัพธ์เท่ากับ 23
- หาความแตกต่างระหว่างเปอร์เซ็นต์โปรตีนของปลายข้าวกับเปอร์เซ็นต์โปรตีนของสูตรอาหารที่ต้องการผสม คือ 19-8 ซึ่งจะได้ผลลัพธ์เท่ากับ 11
- จากข้อ 1 และข้อ 2สรุปผลได้ดังนี้คือ ถ้าเรานำหัวอาหาร จำนวน 11 ส่วน มาผสมกับปลายข้าว จำนวน 23 ส่วน เราก็สามารถผสมสูตรอาหารไก่ที่ประกอบด้วยโปรตีน ประมาณ 19 เปอร์เซ็นต์ได้
อาหารไก่พื้นบ้าน 2
ก่อนอื่นเกษตรกรต้องทำความเข้าใจเสียก่อนว่า ไก่ต้องการอาหารเพื่อใช้ประโยชน์ต่าง ๆ เช่น ใช้ชีวิตประจำวัน เช่น หายใจ เดิน วิ่ง และการกินอาหาร ใช้ในการสร้างกระดูก เนื้อ หนัง ขน เล็บ และส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ใช้ในการสร้างไข่ และผลิตลูกไก่ ดังนั้น การที่ไก่จะเจริญเติบโตดี มีความแข็งแรง และให้ไข่มาก ไก่ จะต้องได้กินอาหารเพียงพอ และได้กินอาหารดี โดยสม่ำเสมอทุกวัน ไก่ต้องการอาหารประเภทใดบ้าง ความต้องการอาหารของไก่คล้ายกับคนมาก ไก่ต้องการอาหารทั้งหมด 6 อย่าง คือ
- อาหารประเภทแป้ง เพื่อนำไปสร้างกำลัง ใช้ในการเดิน การวิ่ง อาหารประเภทนี้ได้จากรำ ปลายข้าว ข้าวโพด ข้าวเปลือก กากมันสำปะหลัง
- อาหารประเภทเนื้อ เพื่อนำไปสร้างขน เล็บ เลือด เนื้อหนัง อาหารประเภทนี้ได้จากแมลง ไส้เดือน ปลา ปลาป่น
- อาหารประเภทไขมัน นำไปสร้างความร้อนให้ร่างกาย อบอุ่นได้จากกากถั่ว กากมะพร้าว ไขสัตว์ น้ำมันหมู กากงา
- อาหารประเภทแร่ธาตุ ไก่ต้องการอาหารแร่ธาตุไปสร้างกระดูก เลือด และเปลือกไข่ แร่ธาตุต่าง ๆ ได้จากเปลือกหอยป่น กระดูกป่น
- อาหารประเภทไวตามิน สร้างความแข็งแรง และกระปรี้กระเปร่าแก่ร่างกาย สร้างความต้านทานโรค และ บำรุงระบบประสาท มีในหญ้าสด ใบกระถิน ข้าวโพด รำข้าว ปลาป่น
- น้ำ เป็นสิ่งจำเป็นที่สุดต่อร่างกาย ถ้าขาดน้ำไก่จะตายภายใน 24 ชั่วโมง ต้องมีน้ำให้ไก่กินตลอดเวลา การปล่อยให้ไก่หาอาหารเองตามธรรมชาติจนเคยชิน ทำให้เกษตรกรเข้าใจว่าไก่กินรำและปลายข้าวและอาหารตามธรรมชาติก็ เป็นการเพียงพอแล้วแต่การที่จะเลี้ยงไก่ให้ได้ผลดีนั้นเกษตรกร
จะต้องให้การเอาใจใส่เรื่องอาหารและน้ำให้มากขึ้นโดยวิธีการง่ายๆ ดังนี้
- ให้น้ำสะอาดตั้งไว้ให้ไก่กินตลอดวัน และคอยเปลี่ยนน้ำทุกๆ วัน
- ให้อาหารผสมทุกเช้าเย็นเพิ่มเติมจากอาหารที่ไก่หากินได้ตามปกติ
- ให้อาหารไก่หลาย ๆ ชนิดผสมกัน เช่น ปลายข้าว รำข้าว ข้าวโพดป่น ปลาป่น ข้าวเปลือก กากถั่ว กากมะพร้าว หัวอาหารไก่สำเร็จรูปชนิดเม็ดหรือชนิดผง
- มีเปลือกหอยป่นผสมเกลือป่นตั้งทิ้งไว้ให้ไก่กินตลอดเวลา
- ให้หญ้าสด ใบกระถิน หรือผักสดให้ไก่กินทุกวัน
- ในฤดูแล้ง ไก่มักจะขาดหญ้ากินเกษตรกรควรปลูกกระถินไว้บริเวณใกล้ๆ คอก วิธีปลูกนั้นให้นำเมล็ดกระถินมาลวกด้วยน้ำร้อนนาน 2 ถึง 3 นาที แล้วนำไปแช่น้ำเย็น เสร็จแล้วจึงนำไปเพาะในดินใส่ถุงพลาสติก จนกระทั่งต้นกระถินสูงประมาณ 1 เมตร
- จึงย้ายไปปลูกเป็นแถวหรือแนวรั้ว เมื่อต้นกระถินติดดีแล้ว ควรตัดให้ต้นต่ำ ๆ เพื่อไก่จะได้กินถึงหรือจะคอยตัดให้ไก่กินก็ได้ นอกจากนั้นเราอาจเพาะข้าวเปลือกหรือถั่วเขียวให้ไก่กินก็ได้ การเพาะถั่วเขียวให้เอาเมล็ดถั่วเขียวแช่เย็นไว้ 12 ชั่วโมง ล้างใส่ไหคว่ำไว้หมั่นรดน้ำทุก 2-3 ชั่วโมง พอครบ 3 วันก็เอาออกให้ไก่กินได้ ถั่วเขียว 4 กระป๋องนมให้แม่ไก่กินได้ประมาณ 100 ตัว
- การใช้หัวอาหารไก่สำเร็จรูปผสมลงในรำข้าวหรือปลายข้าวเป็นวิธีการที่สะดวกที่สุด เนื่องจากเกษตรกรสามารถหาซื้อได้ง่ายและผสมได้สะดวกเป็นวิธีที่จะเสริมให้ไก่เจริญเติบโตรวดเร็วขึ้น
- การสังเกตว่าไก่ได้อาหารเพียงพอหรือไม่ให้ดูว่าในระยะแรกที่ให้อาหารไก่จะรีบกินและมีการแย่งกัน ถ้าไก่กินอาหารไปเรื่อย ๆ และเลิกแย่งกันกินอาหารช้าลง มีการคุ้ยเขี่ย แสดงว่าไก่ได้กินอาหารเพียงพอแล้ว
ก่อนอื่นเกษตรกรต้องทำความเข้าใจเสียก่อนว่า ไก่ต้องการอาหารเพื่อใช้ประโยชน์ต่าง ๆ เช่น ใช้ชีวิตประจำวัน เช่น หายใจ เดิน วิ่ง และการกินอาหาร ใช้ในการสร้างกระดูก เนื้อ หนัง ขน เล็บ และส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ใช้ในการสร้างไข่ และผลิตลูกไก่ ดังนั้น การที่ไก่จะเจริญเติบโตดี มีความแข็งแรง และให้ไข่มาก ไก่ จะต้องได้กินอาหารเพียงพอ และได้กินอาหารดี โดยสม่ำเสมอทุกวัน ไก่ต้องการอาหารประเภทใดบ้าง ความต้องการอาหารของไก่คล้ายกับคนมาก ไก่ต้องการอาหารทั้งหมด 6 อย่าง คือ
- อาหารประเภทแป้ง เพื่อนำไปสร้างกำลัง ใช้ในการเดิน การวิ่ง อาหารประเภทนี้ได้จากรำ ปลายข้าว ข้าวโพด ข้าวเปลือก กากมันสำปะหลัง
- อาหารประเภทเนื้อ เพื่อนำไปสร้างขน เล็บ เลือด เนื้อหนัง อาหารประเภทนี้ได้จากแมลง ไส้เดือน ปลา ปลาป่น
- อาหารประเภทไขมัน นำไปสร้างความร้อนให้ร่างกาย อบอุ่นได้จากกากถั่ว กากมะพร้าว ไขสัตว์ น้ำมันหมู กากงา
- อาหารประเภทแร่ธาตุ ไก่ต้องการอาหารแร่ธาตุไปสร้างกระดูก เลือด และเปลือกไข่ แร่ธาตุต่าง ๆ ได้จากเปลือกหอยป่น กระดูกป่น
- อาหารประเภทไวตามิน สร้างความแข็งแรง และกระปรี้กระเปร่าแก่ร่างกาย สร้างความต้านทานโรค และ บำรุงระบบประสาท มีในหญ้าสด ใบกระถิน ข้าวโพด รำข้าว ปลาป่น
- น้ำ เป็นสิ่งจำเป็นที่สุดต่อร่างกาย ถ้าขาดน้ำไก่จะตายภายใน 24 ชั่วโมง ต้องมีน้ำให้ไก่กินตลอดเวลา การปล่อยให้ไก่หาอาหารเองตามธรรมชาติจนเคยชิน ทำให้เกษตรกรเข้าใจว่าไก่กินรำและปลายข้าวและอาหารตามธรรมชาติก็ เป็นการเพียงพอแล้วแต่การที่จะเลี้ยงไก่ให้ได้ผลดีนั้นเกษตรกร
จะต้องให้การเอาใจใส่เรื่องอาหารและน้ำให้มากขึ้นโดยวิธีการง่ายๆ ดังนี้
- ให้น้ำสะอาดตั้งไว้ให้ไก่กินตลอดวัน และคอยเปลี่ยนน้ำทุกๆ วัน
- ให้อาหารผสมทุกเช้าเย็นเพิ่มเติมจากอาหารที่ไก่หากินได้ตามปกติ
- ให้อาหารไก่หลาย ๆ ชนิดผสมกัน เช่น ปลายข้าว รำข้าว ข้าวโพดป่น ปลาป่น ข้าวเปลือก กากถั่ว กากมะพร้าว หัวอาหารไก่สำเร็จรูปชนิดเม็ดหรือชนิดผง
- มีเปลือกหอยป่นผสมเกลือป่นตั้งทิ้งไว้ให้ไก่กินตลอดเวลา
- ให้หญ้าสด ใบกระถิน หรือผักสดให้ไก่กินทุกวัน
- ในฤดูแล้ง ไก่มักจะขาดหญ้ากินเกษตรกรควรปลูกกระถินไว้บริเวณใกล้ๆ คอก วิธีปลูกนั้นให้นำเมล็ดกระถินมาลวกด้วยน้ำร้อนนาน 2 ถึง 3 นาที แล้วนำไปแช่น้ำเย็น เสร็จแล้วจึงนำไปเพาะในดินใส่ถุงพลาสติก จนกระทั่งต้นกระถินสูงประมาณ 1 เมตร
- จึงย้ายไปปลูกเป็นแถวหรือแนวรั้ว เมื่อต้นกระถินติดดีแล้ว ควรตัดให้ต้นต่ำ ๆ เพื่อไก่จะได้กินถึงหรือจะคอยตัดให้ไก่กินก็ได้ นอกจากนั้นเราอาจเพาะข้าวเปลือกหรือถั่วเขียวให้ไก่กินก็ได้ การเพาะถั่วเขียวให้เอาเมล็ดถั่วเขียวแช่เย็นไว้ 12 ชั่วโมง ล้างใส่ไหคว่ำไว้หมั่นรดน้ำทุก 2-3 ชั่วโมง พอครบ 3 วันก็เอาออกให้ไก่กินได้ ถั่วเขียว 4 กระป๋องนมให้แม่ไก่กินได้ประมาณ 100 ตัว
- การใช้หัวอาหารไก่สำเร็จรูปผสมลงในรำข้าวหรือปลายข้าวเป็นวิธีการที่สะดวกที่สุด เนื่องจากเกษตรกรสามารถหาซื้อได้ง่ายและผสมได้สะดวกเป็นวิธีที่จะเสริมให้ไก่เจริญเติบโตรวดเร็วขึ้น
- การสังเกตว่าไก่ได้อาหารเพียงพอหรือไม่ให้ดูว่าในระยะแรกที่ให้อาหารไก่จะรีบกินและมีการแย่งกัน ถ้าไก่กินอาหารไปเรื่อย ๆ และเลิกแย่งกันกินอาหารช้าลง มีการคุ้ยเขี่ย แสดงว่าไก่ได้กินอาหารเพียงพอแล้ว
ขั้นตอนในการชนไก่
ก่อนนำไก่ออกจากบ้านเพื่อจะนำไปชนที่สนามกีฬาชนไก่ทุกครั้ง เราต้องบอกเจ้าที่เจ้าทางที่บ้านเจ้าของไก่เสียก่อน เพื่อจะเอาฤกษ์ เอาชัย เอาโชค เอาลาภ จะบนบานสารกล่าวอะไร ก็แล้วแต่เจ้าของไก่จะบอก จะให้เจ้าที่ เจ้าบ้านอะไรนี่ก็เป็นเคล็ดลับอันหนึ่งที่คนโบราณนับถือกันมาตลอด จนถึงปัจจุบันนี้ พออุ้มไก่ออกจากสุ่มแล้วก็หงายสุ่มไว้ ห้ามไม่ให้ใครไปเล่นสุ่มที่หงายไว้เป็นอันขาด คนโบราณถือมาก หงายไว้เพื่อเอาเคล็ด จะได้หาคู่ได้ง่ายบ้าง จะได้ไม่ต้องเอากลับมาเลี้ยงต่ออีกบ้าง เพื่อจะได้ชัยชนะกลับมาบ้าง การนำไก่ออกชนทุกครั้งโบราณว่าไว้ ถ้าหันหน้าออกจากบ้านแล้ว ให้เดินหน้าต่อไปห้ามกลับหลังเด็ดขาด ของใช้ต่าง ๆ เครื่องมือเครื่องใช้ต่าง ๆ ต้องตรวจตราให้เรียบร้อย ก่อนออกเดินทางทุกครั้ง นี่ก็เป็นการถือเคล็ดอย่างหนึ่งเหมือนกัน อย่างเช่นนำไก่ออกชน 1 ตัวหรือ 2 ตัว หรือมากกว่านั้นก็เหมือนกัน โบราณก็ถือเช่นกัน คือถ้าไก่ได้ชนทั้ง 2 ตัวในคราวเดียวกัน จะต้องมีชนะ 1 ตัว แพ้ 1 ตัว ลองสังเกตดูเองก็แล้วกัน คนสมัยก่อนถือมากครับ ถ้านำไก่ออกชน 1 ตัว หรือ 2 ตัว ถ้าเปรียบได้คู่ 1 ตัว อีก 1 ตัวเอาไว้ยังไม่เปรียบ ถ้าหากคู่ที่เปรียบไว้ได้ชนแพ้ ก็เอาไก่ตัวที่เหลือมาเปรียบใหม่ถ้าได้คู่มีสิทธิ์ชนะได้เหมือนกัน เพราะฉะนั้นเราต้องเชื่อคนโบราณไว้บ้าง แต่ถึงอย่างไรก็แล้วแต่ การเปรียบไก่ทุกครั้งเจ้าของไก่เท่านั้นที่จะเป็นผู้ที่ช่วยเหลือไก่ ให้ได้เปรียบคู่เข้าไว้เป็นการดี แต่พอมาสมัยใหม่นี้ จะมีซุ้มไก่ดัง ๆ ซุ้มใหญ่ ๆ เกิดขึ้นทั่วประเทศไทย มีคนเลี้ยงไก่ ซุ้มละหลาย ๆ คน ที่เลี้ยงไก่ออกชนทีละมาก ๆ ตัว เวลาออกชนก็ออกได้ทีละ 4 - 6 ตัว หรืออาจจะมากกว่านั้น เพราะปัจจัยเป็นสิ่งสำคัญในปัจจุบันนี้ การแพ้หรือชนะถือเป็นเรื่องธรรมดาไปเสียแล้ว ต่างกับสมัยก่อนมากครับ เพราะฉะนั้นพิธีกรรมต่าง ๆ ในสมัยใหม่นี้จะไม่ค่อยมีความสำคัญเท่าที่ควร แต่ก็ไม่ควรลืมเสียเลยนะครับควรเชื่อถือเอาไว้บ้างไม่มากก็น้อยนะครับ เพราะเป็นเรื่องสืบถอดกันมาเป็นเวลานานมาก ถ้าไก่ที่เราเปรียบได้คู่แล้วยังรอเวลาชนอยู่ ให้เจ้าของไก่โปรดระมัดระวังให้ดีอย่าให้ใครเข้ามาใกล้ หรือขอจับไก่เป็นอันขาด เพราะเราไม่รู้ว่าฝ่ายตรงข้ามหรือเปล่า เฝ้าไก่ไว้ให้ดีเพื่อป้องกันการถูกวางยาไก่ของเราเอง ต้องหาเชือกมาล้อมไว้เพื่อไม่ให้ใครเข้ามาในบริเวณที่ขังไก่ไว้เด็ดขาด เพื่อความปลอดภัยของไก่จากการถูกลอบวางยา
ก่อนนำไก่ออกจากบ้านเพื่อจะนำไปชนที่สนามกีฬาชนไก่ทุกครั้ง เราต้องบอกเจ้าที่เจ้าทางที่บ้านเจ้าของไก่เสียก่อน เพื่อจะเอาฤกษ์ เอาชัย เอาโชค เอาลาภ จะบนบานสารกล่าวอะไร ก็แล้วแต่เจ้าของไก่จะบอก จะให้เจ้าที่ เจ้าบ้านอะไรนี่ก็เป็นเคล็ดลับอันหนึ่งที่คนโบราณนับถือกันมาตลอด จนถึงปัจจุบันนี้ พออุ้มไก่ออกจากสุ่มแล้วก็หงายสุ่มไว้ ห้ามไม่ให้ใครไปเล่นสุ่มที่หงายไว้เป็นอันขาด คนโบราณถือมาก หงายไว้เพื่อเอาเคล็ด จะได้หาคู่ได้ง่ายบ้าง จะได้ไม่ต้องเอากลับมาเลี้ยงต่ออีกบ้าง เพื่อจะได้ชัยชนะกลับมาบ้าง การนำไก่ออกชนทุกครั้งโบราณว่าไว้ ถ้าหันหน้าออกจากบ้านแล้ว ให้เดินหน้าต่อไปห้ามกลับหลังเด็ดขาด ของใช้ต่าง ๆ เครื่องมือเครื่องใช้ต่าง ๆ ต้องตรวจตราให้เรียบร้อย ก่อนออกเดินทางทุกครั้ง นี่ก็เป็นการถือเคล็ดอย่างหนึ่งเหมือนกัน อย่างเช่นนำไก่ออกชน 1 ตัวหรือ 2 ตัว หรือมากกว่านั้นก็เหมือนกัน โบราณก็ถือเช่นกัน คือถ้าไก่ได้ชนทั้ง 2 ตัวในคราวเดียวกัน จะต้องมีชนะ 1 ตัว แพ้ 1 ตัว ลองสังเกตดูเองก็แล้วกัน คนสมัยก่อนถือมากครับ ถ้านำไก่ออกชน 1 ตัว หรือ 2 ตัว ถ้าเปรียบได้คู่ 1 ตัว อีก 1 ตัวเอาไว้ยังไม่เปรียบ ถ้าหากคู่ที่เปรียบไว้ได้ชนแพ้ ก็เอาไก่ตัวที่เหลือมาเปรียบใหม่ถ้าได้คู่มีสิทธิ์ชนะได้เหมือนกัน เพราะฉะนั้นเราต้องเชื่อคนโบราณไว้บ้าง แต่ถึงอย่างไรก็แล้วแต่ การเปรียบไก่ทุกครั้งเจ้าของไก่เท่านั้นที่จะเป็นผู้ที่ช่วยเหลือไก่ ให้ได้เปรียบคู่เข้าไว้เป็นการดี แต่พอมาสมัยใหม่นี้ จะมีซุ้มไก่ดัง ๆ ซุ้มใหญ่ ๆ เกิดขึ้นทั่วประเทศไทย มีคนเลี้ยงไก่ ซุ้มละหลาย ๆ คน ที่เลี้ยงไก่ออกชนทีละมาก ๆ ตัว เวลาออกชนก็ออกได้ทีละ 4 - 6 ตัว หรืออาจจะมากกว่านั้น เพราะปัจจัยเป็นสิ่งสำคัญในปัจจุบันนี้ การแพ้หรือชนะถือเป็นเรื่องธรรมดาไปเสียแล้ว ต่างกับสมัยก่อนมากครับ เพราะฉะนั้นพิธีกรรมต่าง ๆ ในสมัยใหม่นี้จะไม่ค่อยมีความสำคัญเท่าที่ควร แต่ก็ไม่ควรลืมเสียเลยนะครับควรเชื่อถือเอาไว้บ้างไม่มากก็น้อยนะครับ เพราะเป็นเรื่องสืบถอดกันมาเป็นเวลานานมาก ถ้าไก่ที่เราเปรียบได้คู่แล้วยังรอเวลาชนอยู่ ให้เจ้าของไก่โปรดระมัดระวังให้ดีอย่าให้ใครเข้ามาใกล้ หรือขอจับไก่เป็นอันขาด เพราะเราไม่รู้ว่าฝ่ายตรงข้ามหรือเปล่า เฝ้าไก่ไว้ให้ดีเพื่อป้องกันการถูกวางยาไก่ของเราเอง ต้องหาเชือกมาล้อมไว้เพื่อไม่ให้ใครเข้ามาในบริเวณที่ขังไก่ไว้เด็ดขาด เพื่อความปลอดภัยของไก่จากการถูกลอบวางยา
กิจกรรม ในขณะที่ชนไก่
ในการนำไก่ออกชนทุกครั้ง เราต้องเตรียมของใช้ในการชนไก่ให้พร้อมเสมอครับ เช่นข้าวปากหม้อ (ข้าวที่เราตักก่อนคนกิน) ตระไคร้ ใบพลู ผ้าสำหรับรมควัน กระเบื้อง เข็ม ด้ายเบอร์ 8 เบอร์ 20 และมีดโกนมีดซอยผม สมุนไพรต่าง ๆ ที่จะนำไปช่วยเหลือไก่ในระหว่างที่ชน เตรียมให้พร้อม การเข้าปากไก่ หรือการคุมปากไก่ ทั้ง 2 อย่างนี้ไม่เหมือนกันนะครับ การคุมปากไก่ก็คือการคุมปากไก่ป้องกันไม่ให้ปากหลุดระหว่างชน (ปากบน) การคุมปากไก่ควรถักให้แน่นพอประมาณ อย่าให้แน่นจนเกินไปจะทำให้ไก่ไม่ตีไก่ ควรถักสัก 4 เปาะ การคุมปากนี้ไม่ต้องใช้เข็มถักก็ได้ แต่ต่างกับการเข้าปากไก่มาก กรณีปากไก่หลุดต้องเข้าใหม่ ต้องเอาสำลีเช็ดเลือดที่ปากให้แห้ง แล้วเอาปากที่เราเตรียมไว้ต่างหากต้มในน้ำร้อนพอประมาณแล้วนำขึ้นมาจุ่มน้ำเย็น เช็ดให้แห้งแล้วนำไปสวมปากแทนปากเดิมที่หลุด แล้วเข้าปากเข้า 4 เปาะ เช่นกัน แต่ต้องดึงด้ายให้ตึงมือมากกว่าคุมปาก เพื่อป้องกันไม่ให้ปากที่สวมไว้หลุดออกระหว่างที่กำลังชนอยู่ พยายามอย่าให้แน่นจนเกินไป ถ้าแน่นเกินไปมากจะทำให้เสียเปรียบคู่ต่อสู้ เราต้องช่วยตัวเราเอง อย่าให้ใครที่มาขอรับอาสาเข้าปากไก่ให้เป็นอันขาด นอกจากพวกของเราเองที่ไว้ใจได้เท่านั้น เพราะพวกที่หวังดีที่จะช่วยคุมปากไก่ หรือคมปากไก่เรานี้ ไม่แน่ใจว่าจะช่วยเราจริงหรือถ้าเข้าปากไปแล้วไก่ไม่ตีไก่โอกาสแพ้มีแน่นอน เพราะฉะนั้นการเลี้ยงไก่ไว้ชนนี้เราต้องเตรียมตัวให้พร้อมทั้งไก่ พร้องทั้งคน ไม่ใช่คนพร้อมแล้ว แต่ไก่ยังไม่พร้อมเราก็อย่าเพิ่มเอาไก่ออกชนเป็นเด็ดขาด อย่าไปเก่งกว่าไก่เป็นอันขาด ไก่จะพร้อมหรือไม่พร้อมอยู่ที่ความสมบูรณ์ของไก่ เจ้าของไก่เท่านั้นจะรู้ว่าไก่สมบูรณ์หรือไม่ อย่าไปเก่งกว่าไก่เป็นอันขาด วันนี้เราชนไม่ได้ เอาไว้ชนวันอื่นก็ได้ บางคนถือว่าวันนี้ออกจากบ้านต้องชนให้ได้ กลัวไก่ค้างนัดบ้าง ขี้เกียจเลี้ยงต่อบ้าง เล็กกว่าก็ชนให้บ้าง ส่วนมากมักจะเป็นอย่างนั้น คือเก่งกว่าไก่ว่างั้นเถอะ ผลปรากฏว่าแพ้เกือบทุกทีไป เพราะฉะนั้นเราอย่าไปเก่งเกินไก่เป็นอันขาด ชนไม่ได้ก็ไม่ต้องชนกลับบ้านไป หรือยังไม่ได้เสียเงินไม่สบายใจ ก็หาเล่นไก่ของคนอื่นต่อไปก็ได้ อย่าไปคิดว่าต้องอยู่ชนไก่ให้ได้ จะทำให้เราเสียเงินเปล่า ๆ
ในการนำไก่ออกชนทุกครั้ง เราต้องเตรียมของใช้ในการชนไก่ให้พร้อมเสมอครับ เช่นข้าวปากหม้อ (ข้าวที่เราตักก่อนคนกิน) ตระไคร้ ใบพลู ผ้าสำหรับรมควัน กระเบื้อง เข็ม ด้ายเบอร์ 8 เบอร์ 20 และมีดโกนมีดซอยผม สมุนไพรต่าง ๆ ที่จะนำไปช่วยเหลือไก่ในระหว่างที่ชน เตรียมให้พร้อม การเข้าปากไก่ หรือการคุมปากไก่ ทั้ง 2 อย่างนี้ไม่เหมือนกันนะครับ การคุมปากไก่ก็คือการคุมปากไก่ป้องกันไม่ให้ปากหลุดระหว่างชน (ปากบน) การคุมปากไก่ควรถักให้แน่นพอประมาณ อย่าให้แน่นจนเกินไปจะทำให้ไก่ไม่ตีไก่ ควรถักสัก 4 เปาะ การคุมปากนี้ไม่ต้องใช้เข็มถักก็ได้ แต่ต่างกับการเข้าปากไก่มาก กรณีปากไก่หลุดต้องเข้าใหม่ ต้องเอาสำลีเช็ดเลือดที่ปากให้แห้ง แล้วเอาปากที่เราเตรียมไว้ต่างหากต้มในน้ำร้อนพอประมาณแล้วนำขึ้นมาจุ่มน้ำเย็น เช็ดให้แห้งแล้วนำไปสวมปากแทนปากเดิมที่หลุด แล้วเข้าปากเข้า 4 เปาะ เช่นกัน แต่ต้องดึงด้ายให้ตึงมือมากกว่าคุมปาก เพื่อป้องกันไม่ให้ปากที่สวมไว้หลุดออกระหว่างที่กำลังชนอยู่ พยายามอย่าให้แน่นจนเกินไป ถ้าแน่นเกินไปมากจะทำให้เสียเปรียบคู่ต่อสู้ เราต้องช่วยตัวเราเอง อย่าให้ใครที่มาขอรับอาสาเข้าปากไก่ให้เป็นอันขาด นอกจากพวกของเราเองที่ไว้ใจได้เท่านั้น เพราะพวกที่หวังดีที่จะช่วยคุมปากไก่ หรือคมปากไก่เรานี้ ไม่แน่ใจว่าจะช่วยเราจริงหรือถ้าเข้าปากไปแล้วไก่ไม่ตีไก่โอกาสแพ้มีแน่นอน เพราะฉะนั้นการเลี้ยงไก่ไว้ชนนี้เราต้องเตรียมตัวให้พร้อมทั้งไก่ พร้องทั้งคน ไม่ใช่คนพร้อมแล้ว แต่ไก่ยังไม่พร้อมเราก็อย่าเพิ่มเอาไก่ออกชนเป็นเด็ดขาด อย่าไปเก่งกว่าไก่เป็นอันขาด ไก่จะพร้อมหรือไม่พร้อมอยู่ที่ความสมบูรณ์ของไก่ เจ้าของไก่เท่านั้นจะรู้ว่าไก่สมบูรณ์หรือไม่ อย่าไปเก่งกว่าไก่เป็นอันขาด วันนี้เราชนไม่ได้ เอาไว้ชนวันอื่นก็ได้ บางคนถือว่าวันนี้ออกจากบ้านต้องชนให้ได้ กลัวไก่ค้างนัดบ้าง ขี้เกียจเลี้ยงต่อบ้าง เล็กกว่าก็ชนให้บ้าง ส่วนมากมักจะเป็นอย่างนั้น คือเก่งกว่าไก่ว่างั้นเถอะ ผลปรากฏว่าแพ้เกือบทุกทีไป เพราะฉะนั้นเราอย่าไปเก่งเกินไก่เป็นอันขาด ชนไม่ได้ก็ไม่ต้องชนกลับบ้านไป หรือยังไม่ได้เสียเงินไม่สบายใจ ก็หาเล่นไก่ของคนอื่นต่อไปก็ได้ อย่าไปคิดว่าต้องอยู่ชนไก่ให้ได้ จะทำให้เราเสียเงินเปล่า ๆ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น